วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554


การสื่อสารข้ามทวีป

ดาวเทียมสื่อสาร

(communication satellite หรือเรียกสั้นๆ ว่า  comsat)    ป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและ โทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35.786 กิโลเมตร
         ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน

       ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจะส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน
     เนื่องจากดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการหยุด ดาวเทียมสื่อสารจึงถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี ให้สามารถใช้งานในอวกาศได้ประมาณ 10 - 15 ปี โดยที่ดาวเทียมต้องสามารถโคจร และรักษาตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ตลอดเวลา
     หน้าที่  รับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินยังประเทศต้นทางแล้วส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดินของประเทศปลายทาง
สถานีภาคพื้นดิน
สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่อสารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง
หน้าที่  สถานีภาคพื้นดินต้นทาง  รับสัญญาณจากโทรศัพท์มือถือต้นทางส่งไปยังดาวเทียม
หน้าที สถานีภาคพื้นดินปลายทาง รับสัญญาณจากดาวเทียมแล้วส่งไปที่โทรศัพท์มือถือปลายทาง





ดาวเทียมสื่อสาร

ดาวเทียม Milstar ดาวเทียมสื่อสารของกองทัพสหรัฐอเมริกา
ดาวเทียมสื่อสาร (อังกฤษ: communication satellite หรือเรียกสั้นๆ ว่า comsat) เป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงขอกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35.786 กิโลเมตร ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูระหว่างโลกกับดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลก
ประวัติ
ดาวเทียมสื่อสารที่ส่งขึ้นไปครั้งแรกเมื่อปี 2508 โดยองค์การโทรคมนาคม ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดการสื่อสารดาวเทียมคือ อาเธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนวนิยายและสารคดีวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาสร้างจินตนาการการสื่อสารดาวเทียมให้เรารับรู้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 โดยเขียนบทความเรื่อง "Extra Terrestrial Relay" ในนิตยสาร Wireless World ฉบับเดือน ตุลาคม 1945 ซึ่งบทความนั้นได้กล่าวถึงการเชื่อมระบบสัญญาณวิทยุจากมุมโลกหนึ่งไปยังอีกมุมโลกหนึ่ง ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานีถ่ายทอดวิทยุที่ลอยอยู่ในอวกาศเหนือพื้นโลกขึ้นไปประมาณ 35,786 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี
ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ข้อคิดในบทความของอาร์เธอร์ ซี คลาร์ก เริ่มเป็นจริงขึ้นมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียม สปุตนิก ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958 สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารดวงแรกที่ชื่อว่า สกอร์ (Score) ขึ้นสู่อวกาศ และได้บันทึกเสียงสัญญาณที่เป็นคำกล่าวอวยพรของประธานาธิบดีโอเซนฮาร์ว เนื่องเทศกาลคริสต์มาสจากสถานีภาคพื้นดินแล้วถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียมลงมาสู่ชาวโลก นับเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงจากดาวเทียมภาคพื้นโลกได้เป็นครั้งแรก
วันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1964 ประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จำนวน 11 ประเทศ ร่วมกันจัดตั้งองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ หรือเรียกว่า อินเทลแซท (INTELSATINTERNATIONAL TELECOMMUNICATIONS SATELLITE ORGANIZATION) ขึ้นที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยให้ประเทศสมาชิกเข้าถือหุ้นดำเนินการใช้ดาวเทียมเพื่อกิจการโทรคมนาคมพานิชย์แห่งโลก INTELSAT ตั้งคณะกรรมการ INTERIM COMMUNICATIONS SATELLITE COMMITTEE (ICSC) จัดการในธุรกิจต่าง ๆ ตามนโยบายของ ICSC เช่นการจัดสร้างดาวเทียมการปล่อยดาวเทียมการกำหนดมาตราฐานสถานีภาคพื้นดิน การกำหนดค่าเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1964 ได้มีการถ่ายทอดโทรทัศน์พิธีเปิดงานกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 18 จากกรุงโตเกียว ผ่านดาวเทียม “SYNCOM III” ไปสหรัฐอเมริกานับได้ว่าเป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมครั้งแรกของโลก
วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1965 COMSAT ส่งดาวเทียม “TELSAT 1 หรือในชื่อว่า EARLY BIRD ส่งขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ถือว่าเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เพื่อการพานิชย์ดวงแรกของโลก ในระยะหลังมีหลายประเทศที่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง (DOMSAT) เพื่อใช้ในการสื่อสารภายในประเทศ
·         PALAPA ของอินโดนีเซีย
·         SAKURA ของญี่ปุ่น
·         COMSTAR ของอเมริกา
·         THAICOM ของประเทศไทย
อ้างอิง
·         นิตยสาร Cable TV Magazine ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550

 
ดาวเทียมสื่อสาร
                  ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน นับตั้งแต่ NASA ส่งดาวเทียมสื่อสารเข้าสู่วงโคจรไป จนปัจจุบันมีบริษัทเอกชนจำนวนมากที่เข้ามาบุกเบิกธุรกิจ และทำกำไรมหาศาล จากประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากดาวเทียม
       ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจุส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่สารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง
            
วิธีการทำงาน
       
เนื่องจากดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการหยุด ดาวเทียมสื่อสารจึงถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี ให้สามารถใช้งานในอวกาศได้ประมาณ 10 - 15 ปี โดยที่ดาวเทียมต้องสามารถโคจร และรักษาตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ตลอดเวลา ดาวเทียมสื่อสารทำงานโดยอาศัยหลักการส่งผ่านสัญญาณถึงกันระหว่างสถานีภาคพื้นดินและ ดาวเทียม ซึ่งมีการทำงาน ดังนี้

       1. ภาคอวกาศ (Space Segment)
ประกอบด้วยตัวดาวเทียม ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
           1.1 ระบบขับเคลื่อนตัวดาวเทียม (Propulsion Subsystem) โดยจะใช้ก๊าซ หรือพลังงานความร้อนจากไฟฟ้าเพื่อให้เกิดแรงผลักดัน หรือแรงกระตุ้นเพื่อให้เกิดการหมุนและรักษาตำแหน่งของดาวเทียม
           1.2 ระบบควบคุมตัวดาวเทียม (Spacecraft Control Subsystem) เพื่อรักษาสมดุลในการทรงตัวของดาวเทียมเพื่อไม่ให้ดาวเทียมหลุดลอย ไปในอวกาศหรือถูกแรงดึงดูดของโลกดึงให้ตกลงมาบนพื้นโลก
           1.3 ระบบอุปกรณ์สื่อสาร (Electronic Communication Subsystem) เนื่องจากดาวเทียมสื่อสารส่วนใหญ่จะมีทรานสปอนเดอร์ (Transponder) หรือช่องสัญญาณดาวเทียมทำหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีส่งภาคพื้นดินแล้วแปลงความถี่ของสัญญาณดังกล่าวให้เป็นความถี่ขาลง (Downlink Frequency) พร้อมทั้งขยายสัญญาณดังกล่าวเพื่อให้สามารถส่งกลับสู่สถานีภาคพื้นดินได้
           1.4 ระบบพลังงานไฟฟ้า (Electrical Power Subsystem) ดาวเทียมสื่อสารทุกดวงจะมีแผงเซลล์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสาร และภาคควบคุมต่างๆ บนดาวเทียม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Battery) เพื่อสำรองไว้ใช้งานอีกด้วย
           1.5 ระบบสายอากาศ (Antenna Subsystem) จานสายอากาศบนตัวดาวเทียม จะทำหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดิน โดยใช้จานสายอากาศส่วนใหญ่เป็นแบบ Paraboloid มีการส่ง สัญญาณเป็นชนิดที่มีการกำหนดทิศทาง (Directional Beam)
            1.6 ระบบติดตามและควบคุม (TT&C Telemetry Tracking and Command Subsystem) ใช้ติดตามการทำงานของดาวเทียมและควบคุมรักษาตำแหน่งของดาวเทียมให้โคจรอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เสมอ จากสถานีควบคุมภาคพื้นดิน (Master Earth Station)
             2. ภาคพื้นดิน (Ground Segment) : สถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน (Satellite Earth Station) ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ คือ
          2.1 อุปกรณ์จานสายอากาศ (Antenna Subsystem) ต้องมีความสามารถในการรวมพลังงานไปในทิศทางที่ตรงกับดาวเทียม
และต้องมีความสามารถในการรับสัญญาณจากดาวเทียมได้
          2.2 ภาคอุปกรณ์สัญญาณวิทยุ (Radio Frequency Subsystem) ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณความถี่วิทยุที่ใช้งานเป็นหลัก
          2.3 ภาคอุปกรณ์แปลงสัญญาณวิทยุ (RF/IF Subsystem) ประกอบด้วย
                   1) Up Converter Part ทำหน้าที่แปลงย่านความถี่ IF ซึ่งรับจาก Satellite Modem ให้เป็นความถี่ย่านที่ใช้งานกับระบบดาวเทียมต่าง ๆ จากนั้นส่งสัญญาณที่แปลงความถี่แล้วไปให้ภาคขยายสัญญาณย่านความถี่สูง เพื่อส่งสัญญาณไปยังดาวเทียม
                  2) Down Converter Part ทำหน้าที่แปลงความถี่ของสัญญาณ ที่ได้รับจากดาวเทียมในย่านความถี่ของดาวเทียมไปเป็นความถี่ย่าน
IF เพื่อส่งต่อให้แก่ภาค Demodulator ของ Satellite Modem
          2.4 อุปกรณ์ Modem (Modulator / Demodutator) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมให้อยู่ในรูปของ สัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้ได้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานต่อไป
     
    วิถีการโคจร        ดาวเทียมสื่อสารโคจรเป็นวงกลมในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร หรือที่เรียกว่า "วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit)"

           ประโยชน์ที่ได้รับ        ด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมทางด้านต่างๆ เช่น ทางด้านสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
       
ตัวอย่างดาวเทียมสื่อสาร        ดาวเทียม Thaicom 1 และ 2 เป็นดาวเทียมสื่อสารชุดแรกของประเทศไทย ถูกส่งขึ้นไปโคจรในปี พ.ศ. 2536 และ 2537 ตามลำดับ เพื่อให้บริการทางด้านการสื่อสารมีรัศมีการให้ บริการครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย และภูมิภาคใกล้เคียง


      ดาวเทียม Thaicom 3 เป็นดาวเทียมสื่อสารอีกดวงหนึ่งของประเทศไทย ถูกส่งขึ้นไปโคจรในปี พ.ศ. 2540 เพื่อให้บริการทางด้านการสื่อสาร มีรัศมีการให้บริการครอบคลุมทั่วทั้ง 4 ทวีป

ส่วนประกอบของดาวเทียม
             ดาวเทียมเป็นเครื่องยนต์กลไกที่ซับซ้อนมาก ส่วนประกอบแต่ละส่วนถูกออกแบบอย่างประณีต และมีราคาแพง m ดาวเทียมดวงหนึ่งๆ จะต้องทำงาน โดยไม่มีคนควบคุมโคจรด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนี จากแรงดึงดูดของโลกได้ ผู้สร้างดาวเทียมจะพยายามออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพที่สุด และราคาไม่แพงมาก ดาวเทียมมีส่วนประกอบมากมาย แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป ดาวเทียมจะมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่างๆ ทำงานร่วมกัน ระบบย่อยๆ แต่ละอย่างต่างก็มีหน้าที่การทำงานเฉพาะ
            1.  โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude)
            2. ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสูญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย
            3. ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงาน (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน
            4. ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
            5. ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ
           6. อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้
          7. เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ




                       ชิ้นส่วนต่างๆของดาวเทียมได้ถูกทดสอบอย่างละเอียดส่วนประกอบต่างๆถูกออกแบบสร้างและทดสอบ ใช้งานอย่างอิสระ ส่วนต่าง ๆได้ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน และทดสอบอย่างละเอียดครั้งภายใต้สภาวะที่เสมือนอยู่ในอวกาศก่อนที่มัน จะถูกปล่อยขึ้นไปโคจร ดาวเทียมจำนวนไม่น้อยที่ต้องนำมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก่อนที่พวกมันจะสามารถทำงานได้ เพราะว่าหากปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้ว เราจะไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้ และดาวเทียมต้องทำงานอีกเป็นระยะเวลานาน ดาวเทียมส่วนมากจะถูกนำขึ้นไปพร้อมกันกับจรวด ซึ่งตัวจรวดจะตกลงสู่มหาสมุทรหลังจากที่เชื้อเพลิงหมด






ดาวเทียมประเภทอื่นๆ 
 ดาวเทียมสมุทรศาสตร์
        เราสามารถนำดาวเทียมไปใช้กับงานได้หลากหลายสาขา งานทางด้านสำรวจทางทะเลก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ดาวเทียมได้เข้าไปมีบทบาท ในปี พ.ศ. 2521 ดาวเทียมสำรวจทางทะเลดวงแรก ได้ถูกส่งขึ้นไปสู่วงโคจร ได้แก่ ดาวเทียม Seasat แม้ว่าจะไม่ได้มีบทบาทอะไรมากนัก แต่ก็เป็นการบุกเบิกให้เกิดการสำรวจทางทะเลให้กว้างขวางต่อไป ดาวเทียมที่มีบทบาทสำรวจสำหรับงานสำรวจทางทะเล ได้แก่ ดาวเทียม Robinson 34 ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และนักชีววิทยาทางทะเลสามารถตรวจจับความ เคลื่อนไหวของทุกสรรพสิ่งในท้องทะเลได้ ก็ด้วยการใช้งานจากดาวเทียมนั่นเอง โดยนำข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทางทะเลมาตรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ลักษณะสิ่งมีชีวิต ความแปรปรวนของคลื่นลมและกระแสน้ำ จนกระทั่งได้รายงานสรุปสภาพทางทะเลที่สมบูรณ์
 


 ดาวเทียมสำรวจอวกาศ
           
   ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่มาก โดยดาวเทียมประเภทนี้จะถูกนำขึ้นไปสู่วงโคจรที่สูงกว่าดาวเทียมประเภทอื่น ๆ ลึกเข้าไปในอวกาศ ดังนั้นดาวเทียมสำรวจอวกาศจึงให้ภาพที่ไร้สิ่งกีดขวางใด ๆ ไม่มีชั้นบรรยากาศของโลกมากั้น ดาวเทียมสำรวจอวกาศบางดวงก็จะนำอุปกรณ์ตรวจจับ และบันทึกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางดวงก็จะมีหน้าที่ตรวจจับและบันทึกรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต ดาวเทียมสำรวจอวกาศนี้เริ่มมีวิวัฒนาการขึ้นมาในปี พ.ศ. 2543 เมื่อนาย Lyman Spitzer ได้ค้นพบว่าชั้นบรรยากาศของโลกเป็นตัวการกรองรังสีอัลต้าไวโอเล็ต เนื่องจากรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตนั้นส่องผ่านจากในอวกาศที่ลึกเข้าไปนั่นเอง อีกทั้งการค้นพบว่าในลำแสงอัลต้าไวโอเล็ตประกอบไปด้วยแถบแสงทั้งหมด 7 สี ด้วยกัน และการค้นพบรังสีเอ็กซ์ (X-ray) ซึ่งต่างก็มีที่มาจากดวงอาทิตย์และดวงดาวต่าง ๆ ในระบบสุริยจักรวาล


ดาวเทียมจารกรรม
           ดาวเทียมที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่งก็คือ ดาวเทียมเพื่อการจารกรรมหรือสอดแนม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ ด้วยกัน แต่ที่นิยมมากที่สุดคือประเภทที่ใช้เพื่อการลาด ตระเวน โดยมีการติดกล้องเพื่อใช้ในการถ่ายภาพพิเศษ สามารถสืบหาตำแหน่งและรายละเอียดเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการได้ ดาวเทียมจะมีอุปกรณ์ตรวจจับ คลื่นวัตถุด้วยเรด้าร์และ แสงอินฟราเรด ซึ่งสามารถตรวจจับได้ทั้งในที่มืด หรือที่ที่ถูกพรางตาไว้ ดาวเทียม COSMOS เป็นดาวเทียมสอดแนมที่รู้จักกันดีของรัสเซีย และดาวเทียม Big Bird เป็นดาวเทียม สอดแนมของสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังมีดาวเทียมสอดแนมทางทะเลเพื่อใช้ในค้นหาเรือรบ เรือเรือดำน้ำ ความสามารถในการตรวจจับหัวรบนิวเคลียร์ หรือวัตถุที่ฝังตัว อยู่ใต้ทะเลลึก ดาวเทียม Elint ถูกใช้เพื่อการประโยชน์ของทางกองทัพในการป้องกันประเทศจากการลอบจู่โจม ดาวเทียม Elint เป็นดาวเทียมสอดแนมที่มีลักษณะพื้นฐานในการ ตรวจจับคลื่นสัญญาณวิทยุ และแผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งฐานทัพของประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นดาวเทียมที่มีประโยชน์มากต่องานของกองทัพ เพราะประเทศไม่สามารถต่อสู้ได้โดยที่ ไม่มีข้อมูลทางการทหารของประเทศอื่นเลย
     


สถานีบริการภาคพื้นดิน
สถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม ถือเป็นสถานีให้บริการรับส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ ซึ่งนอกจากจะให้บริการเป็นเกตเวย์สำหรับดาวเทียมไทยคม 1A, 2 และ 3 แล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้จะเป็นศูนย์ให้บริการ iPSTAR หรือบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลกอีกด้วย
สถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม ถือเป็นสถานีให้บริการรับส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ ซึ่งนอกจากจะให้บริการเป็นเกตเวย์สำหรับดาวเทียมไทยคม 1A, 2 และ 3 แล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้จะเป็นศูนย์ให้บริการ iPSTAR หรือบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลกอีกด้วย


เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2545 ที่ผ่านมา ทางทีมงานบรรณาธิการคอมมาร์ตได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมสถานีบริการภาคพื้นดินไทยคมที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี พร้อมทั้งได้รับฟังการบรรยายความก้าวหน้าของโครงการ iPSTAR หรือโครงการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ทางบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มมากว่า 5 ปีแล้ว ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจเป็นอย่างมาก จึงถือโอกาสนี้นำมาเล่าสู่กันฟัง

ที่มาของสถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม

สถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม (Thaicom Teleport and DTH Center) เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี 2539 ที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ 15 ไร่ แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2541 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี จุดประสงค์หลักๆ คือ

1. เพื่อเป็นสถานีให้บริการภาคพื้นดินสำหรับดาวเทียมไทยคม

2. เพื่อเป็นสถานีค้นคว้าและประยุกต์ทดลองใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียมไทยคม
3. เพื่อเป็นสถานีควบคุมดาวเทียมสำรองของสถานีดาวเทียมไทยคม ณ จังหวัดนนทบุรี
4. เพื่อเป็นสถานีเกตเวย์ หรือระบบควบคุมเครือข่ายของโครงการ iPSTAR


สถานีบริการภาคพื้นดินไทยคมแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นสถานีรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่ครบวงจร และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในศูนย์ฯ ยังได้จัดเตรียมอุปกรณ์นำสัญญาณไฟเบอร์ออพติคเพื่อเชื่อมโยงกับผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ออกอากาศ (Broadcaster) โดยตรง และเชื่อมโยงกับสถานีภาคพื้นดินอื่นๆ เพื่อสามารถให้บริการในลักษณะเป็นสถานีสำรอง (Back-up Station) ได้อีกทางหนึ่งด้วย ระบบภายในศูนย์ฯ ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้บริการได้ 2 ลักษณะคือ 1. แบบประจำ 24 ชั่วโมงต่อวัน (Full-Time Usage) และ 2. แบบเฉพาะครั้ง (Occasional Usage) ด้วยการออกอากาศในระบบ Digital DTH ในย่านความถี่ Ku-Band ตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการไปยังผู้รับที่อยู่ภายใต้พื้นที่ให้บริการของดาวเทียมไทยคม

การปฏิบัติงานภายในศูนย์ จะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยควบคุมตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณตลอดเวลา และในศูนย์ฯ ยังได้เตรียมระบบไฟฟ้าสำรองด้วย UPS และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินแบบใช้น้ำมันดีเซล (Diesel Generator) เพื่อป้องกันปัญหาอันเกิดจากรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องด้วย

ลักษณะภายในศูนย์ฯ

พื้นที่ 15 ไร่ แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ศูนย์ควบคุมการรับส่งสัญญาณ เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาดกว่า 1 พันตารางเมตร ภายในอาคารประกอบด้วยส่วนควบคุมต่างๆ เช่น Master Control Room (MCR) หรือห้องควบคุมการส่งสัญญาณภาพหลัก, Radio Frequency Room หรือห้องควบคุมการรับ-ส่งคลื่นวิทยุแรงสูง และ iPSTAR Data Center หรือห้องควบคุมส่วนกลางของโครงการ iPSTAR เป็นต้น สำหรับในส่วนของระบบกำเนิดไฟฟ้าสำรอง หรือ Power Generator จะถูกแยกต่างหากอีกอาคาร ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกสัญญาณรบกวนเมื่อระบบไฟฟ้าสำรองทำงาน ทางด้านส่วนที่ 2 หรือพื้นที่ภายนอก จะเป็นที่ตั้งของจานรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม สำหรับเชื่อมต่อกับดาวเทียมไทยคมทั้ง 3 ดวง รวมถึงดาวเทียมอื่นๆ ในวงโคจรด้วย

การให้บริการต่างๆ ของสถานี

1. Teleport & Broadcasting Service
คือบริการรับ (Downlink) และส่ง (Uplink) สัญญาณขึ้นสู่ดาวเทียมไทยคม มีขีดความสามารถในการให้บริการทั้งในระบบอนาล็อกและดิจิตอล เพื่อส่งสัญญาณในย่านความถี่ C-Band หรือ Ku-Band แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งมี 4 แบบดังนี้
  •   Digital Uplink System
    ระบบนี้จะรับสัญญาณจากผู้ต้องการใช้บริการ ซึ่งอาจจะมาจากดาวเทียมดวงอื่นๆ หรือเชื่อมโยงผ่านทางไมโครเวฟ รวมถึงสายไฟเบอร์ออพติค มายังสถานีลาดหลุมแก้วโดยตรง จากนั้นนำสัญญาณดังกล่าวมาผ่านระบบจัดการภาพและเสียง (Digital Processing) เพื่อปรับระดับสัญญาณให้อยู่ในมาตรฐาน จากนั้นจึงค่อยยิงขึ้นสู่ดาวเทียมเพื่อกระจายสัญญาณต่อไป
  •   Tape Playout Service
    ให้บริการแพร่สัญญาณโทรทัศน์จากวิดีโอเทปในฟอร์แมต Beta camp SP, DVC และ DV โดยสามารถเปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด นอกจากนี้ สถานีฯ ยังให้บริการสตูดิโอให้เช่าทำรายการอีกด้วย
  •   Compression System
    ระบบบีบอัดสัญญาณดิจิตอลมาตรฐาน MPEG-2 DVB ที่ให้คุณภาพของสัญญาณดีมาก โดยสามารถบีบอัดได้ถึง 10 ช่องใน 1 ย่านความถี่ ทำให้ผู้ออกอากาศประหยัดค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม รวมถึงยังให้บริการได้เป็นจำนวนหลายช่องอีกด้วย
  •   DownLink Monitoring System
    เป็นระบบที่ใช้ควบคุมตรวจสอบคุณภาพสัญญาณรายการโทรทัศน์ที่ Uplink ขึ้นไป โดยสามารถบันทึกเทปรายการที่มีปัญหา เพื่อนำมาตรวจสอบภายหลัง หรือเป็นหลักฐานสำหรับใช้ในการตรวจสอบจุดบกพร่องในการออกอากาศย้อนหลังได้

    2. Glabal Digital Television ให้บริการแพร่ภาพสัญญาณผ่านดาวเทียมไปยังอีก 4 ทวีปคือ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลียและแอฟริกา โดยไทยคม 3 ผู้รับชมสัญญาณดาวเทียมในทวีปดังกล่าวสามารถรับชมรายการในระบบ DTH หรือ Direct-to-Home ได้ทันที

    3. การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
    สถานีลาดหลุมแก้วยังให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม สำหรับ ISP และผู้ใช้ทั่วไปอีกด้วย โดยมีแบนด์วิธสูงสุดอยู่ที่ 45 เมกะบิตต่อวินาที

    4. สถานีเกตเวย์ของ iPSTAR
    เป็นศูนย์กลางการให้บริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ใหญ่ และก้าวหน้ามากที่สุดในโลก

ความก้าวหน้าของโครงการ iPSTAR

โครงการ iPSTAR คือการให้บริการบรอดแบนด์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Media Streaming, Video Conference, VoIP และ IP2TV เป็นต้น ผ่านทางดาวเทียม iPSTAR การให้บริการทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบของ IP ซึ่งเป็นโปรโตคอลเดียวกับอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก สำหรับ iPSTAR นั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. ดาวเทียม iPSTAR ซึ่งก็คือดาวเทียมไทยคม 3 และ 2. ระบบภาคพื้นดิน ซึ่งก็คือตัวรับส่งสัญญาณนั่นเอง โดยในขณะนี้ ทางบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ได้เร่งการผลิต Enterprise Box สำหรับลูกค้าในกลุ่มองค์กรและ ISP ในต่างประเทศ ขณะนี้ราคาของการเช่าสัญญาณและอุปกรณ์ต่างๆ ยังคงสูงอยู่ เนื่องจากยังเป็นขั้นเริ่มต้นของอุปกรณ์ภาคพื้นดินชนิดนี้ โดยภายในปีหน้าหรือปี 2003 จะเริ่มวางตลาดอุปกรณ์ภาคพื้นดินสำหรับผู้ใช้ทั่วไปคือ Professional Box เพื่อชิมลางตลาดในไทยดู ทางบริษัทชินฯ ได้กล่าวว่า ในอนาคตถ้ากระบวนการ R&D เสร็จสมบูรณ์ อุปกรณ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกลง ซึ่งน่าส่งผลให้ตลาดผู้ใช้งาน iPSTAR เติบโตขึ้นอย่างมากด้วยเช่นกัน

บริการรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมไปยังสถานีรับภาคพื้นดินในประเทศต่างๆ (Channel Distribution Service)

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) มีบริการช่องสัญญาณดาวเทียมและบริการรับ/ส่งสัญญาณดาวเทียมจากสถานีภาคพื้นดินไทยคม (Thaicom Teleport & DTH Center) ไปยังสถานีรับภาคพื้นดินที่อยู่ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองแก่ลูกค้าที่ต้องการออกอากาศรายการโทรทัศน์แบบสด หรือแบบที่ตั้งโปรแกรมการออกอากาศไว้ล่วงหน้าเพื่อส่งต่อไปยังผู้ให้บริการประเภทเคเบิลทีวีท้องถิ่น หรือสถานีทวนสัญญาณที่ตั้งอยู่ภายใต้พื้นที่ให้บริการของดาวเทียมไทยคม นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถใช้บริการส่งสัญญาณออกอากาศรายการโทรทัศน์ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 120 ประเทศ ใน 4 ทวีป ได้แก่ ยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย และแอฟริกา โดยใช้ย่านความถี่ซี-แบนด์โกลบอลของดาวเทียมไทยคม









ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
ดาวเทียม ( Sattellite )
       ดาวเทียมเป็นอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่โคจรรอบวัตถุอีกชนิดหนึ่งคือโลก เช่นเดียวกันกับดวงจันทร์เป็นคล้ายกับดาวเทียมของโลก  หรือโลกเปรียบเป็นดาวเทียมของดวงอาทิตย์ อุปกรณ์การสื่อสาร (ไทยคม ไทพัฒ ธีออส) เป็นดาวเทียมของโลก เป็นต้น ซึ่งดาวเทียมนี้พัฒนามาจากแนวคิดของ เซอร์ อาร์เธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ (เกิดวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และถึงแก่กรรมลงเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ด้วยโรคชรา) ที่มีแนวคิดต้องการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง โดยวางดาวเทียมสามดวงทำมุมกัน ๑๒๐ องศากับแนวแกนโลกและมีอัตราความเร็วที่โคจรเท่ากับโลก   เพื่อให้ดาวเทียมอยู่ที่ตำแหน่งสังเกตเดิมตลอดเวลา โดยดาวเทียมซึ่งทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณในอวกาศ หรือหน่วยทวนสัญญาณ (Repeater) สำหรับการรับส่งสัญญาณ จากฟากหนึ่งไปยังฟากหนึ่งของพื้นโลก สัญญาณรับส่งอาจเป็นสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณภาพ หรือสัญญาณการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
      ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
       ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นระบบที่ก่อให้เกิดการสื่อสารได้อย่างกว้างไกลไร้ขอบเขต แม้ในเขตพื้นที่ห่างไกล เช่น บริเวณหุบเขา มหาสมุทร   เป็นต้น ระบบการสื่อสารนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก คือ สถานีภาคพื้นดิน (Ground Segment) และสถานีอวกาศ (Space Segment) โดยที่สถานีภาคพื้นดินประกอบด้วยสองสถานีคือ สถานีรับและสถานีส่ง ซึ่งการทำงานของทั้งสองสถานีนี้มีลักษณะคล้ายกันคือ โดยสถานีภาคพื้นดินมีอุปกรณ์หลักอยู่สี่ชนิดดังรายละเอียด
        ก.1) อุปกรณ์จานสายอากาศ (Antenna Subsystem) มีหน้าที่ส่งสัญญาณและรับสัญญาณจากดาวเทียม
       ก.2) อุปกรณ์สัญญาณวิทยุ (Radio Frequency Subsystem) มีหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุที่ใช้งาน
       ก.3) อุปกรณ์แปลงสัญญาณวิทยุ (RF/IF Subsystem) ประกอบด้วยสถานีส่งสัญญาณและสถานีรับสัญญาณ โดยด้านสถานีส่งถูกเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาขึ้น (Up Converter Part) ซึ่งทำหน้าที่แปลงย่านความถี่ที่ได้รับมาให้เป็นความถี่ที่ใช้กับงานระบบดาวเทียม จากนั้นส่งสัญญาณที่แปลงความถี่ให้ภาคขยายสัญญาณ เพื่อขยายให้เป็นสัญญาณความถี่สูง หลังจากนั้นนำส่งไปยังดาวเทียม และเช่นเดียวกันสำหรับด้านสถานีรับนั้นเรียกว่า  ภาคแปลงสัญญาณขาลง (Down Converter Part) ทำหน้าที่คือแปลงสัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมไปเป็นความถี่ที่ใช้งาน จากนั้นส่งต่อให้ภาคแยกสัญญาณ (Demodulator) ต่อไป
        ก.4) อุปกรณ์ผสมสัญญาณและแยกสัญญาณ (Modulator/Demodulator) มีหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นสัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้นำไปใช้งานได้

สำหรับสถานีอวกาศ (Space Segment) นั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
       1) อุปกรณ์ขับเคลื่อนดาวเทียม (Propulsion Subsystem) ทำหน้าที่ทำให้ดาวเทียมหมุนและรักษาตำแหน่งไว้ด้วยก๊าซหรือพลังงานความร้อนจากไฟฟ้า
       2) อุปกรณ์ควบคุมดาวเทียม (Spacecraft control Subsystem) มีหน้าที่รักษาสมดุลของดาวเทียมเพื่อไม่ให้ดาวเทียมหลุดวงโคจรออกไปในอวกาศได้
       3) อุปกรณ์สื่อสาร (Electronic Communication Subsystem) มีหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีส่งแล้วส่งต่อไปยังสถานีรับโดยมีช่องสัญญาณรับความถี่ขาขึ้น (Transponder) จากนั้นแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณความถี่ขาลง (Downlink Frequency) แล้วจึงส่งมายังสถานีรับภาคพื้นดินต่อไป
       4)อุปกรณ์พลังงานไฟฟ้า (Electrical Power Subsystem) มีหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสารและภาคควบคุมต่างๆ บนดาวเทียมนอกจากนี้ยังเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในตัวเก็บประจุหรือแบตเตอรี่ (Battery) เพื่อสำรองไว้ใช้งาน
       5) อุปกรณ์สายอากาศ (Antenna Subsystem) ทำหน้าที่รับสัญญาณจากภาคพื้นดิน
       6)อุปกรณ์ติดตามและควบคุม (Telemetry Tracking and Command Subsystem: TT&C) มีหน้าที่ติดตามการ ทำงานของดาวเทียมและควบคุมรักษาตำแหน่งของดาวเทียมให้ถูกต้องเสมอโดยอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม
        สำหรับตัวอย่างระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมแบบค้างฟ้า (Geostationary Satellite)นั้น ส่วนประกอบของดาวเทียมต่างๆ จะประกอบกันทำหน้าที่หลักๆ คือ ทำหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินและทำการตัดสัญญาณรบกวนที่ปนมากับสัญญาณข้อมูลที่ส่งมา จากนั้นขยายสัญญาณให้มีกำลังสูงขึ้น และทำการแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลง เพื่อป้องกันการรบกวนระหว่างความถี่ขาขึ้น และความถี่ขาลง โดยมีจานดาวเทียมทำหน้าที่รับ และส่งสัญญาณกลับไปยังสถานีภาคพื้นดิน โดยทั่วไปความถี่ขาขึ้น และความถี่ขาลงนั้น ดาวเทียมใช้งานในย่านความถี่ 6 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) (C-band) และ 4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งในย่านความถี่ดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับย่านความถี่อื่นๆ เกิดสัญญาณรบกวนน้อยที่สุด โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกจะมีผลกระทบต่อการรับส่งสัญญาณที่น้อย

       ในระยะเริ่มต้นระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้งานในย่านความถี่ซีแบนด์ 6/4 กิกะเฮิรตซ์ (ความถี่ขาขึ้นและความถี่ขาลง 5.725 ถึง 7.075 GHz และ 3.4 ถึง 4.8 GHz ตามลำดับ) ในการรับส่งสัญญาณ ต่อมาเนื่องด้วยมีย่านความถี่ที่ตรงกับย่านความถี่ไมโครเวฟของสถานีภาคพื้นดิน     ซึ่งทำให้เกิดสัญญาณรบกวนแก่สถานีภาคพื้นดินได้ง่าย ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวจึงได้นำย่านความถี่เคยูแบนด์ (Ku-band) 14/12 กิกะเฮิรตซ์ (ความถี่ขาขึ้นและความถี่ขาลง 12.75 ถึง 14.8 GHz และ 10.7 ถึง 12.3 GHz ตามลำดับ)นำมาใช้งานเพิ่มเติม





video clip



สมาชิกกลุ่ม    ตอนเรียน  A1
1.นางสาวรัตนาภรณ์    ปานโสภณ  53112804002
2.นางสาวนฤมล          มีสาวงษ์     53112804006
3.นางสาวพิศมัย         ชนประชา    53112804007
4.นางสาวโชษิตา       สุริโย          53112804012
5.นางสาวสิริพร          เชาวมัย       53112804020